ฉลองวันเกิด ยก 20,000 ล้านให้สาธารณะ
อาณาจักร ‘วิกรม กรมดิษฐ์’ ทุ่มสร้าง 3 แสนไร่ใหญ่เทียบเท่าสิงคโปร์
การฉลองครบรอบวันเกิดปีที่ 70 ของ ‘วิกรม กรมดิษฐ์’ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้สร้างความฮือฮาให้กับสังคมไทยไม่น้อยเลยทีเดียว
หลังสร้างตำนานใหม่ด้วยการประกาศพินัยกรรมที่ระบุว่าจะยกทรัพย์สินส่วนตัวมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทให้กับมูลนิธิอมตะเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป
นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ เปิดเผยว่า ได้ตัดสินใจมอบทรัพย์สินส่วนตัวในสัดส่วน 95%
มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ให้กับสาธารณะ ภายใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิอมตะ ซึ่งเงินในส่วนนี้จะนำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ 6-7 โครงการ โดยเฉพาะในเรื่องของทุนการศึกษา การทำหนังสือด้านความรู้
สร้างงานและอาชีพ ดูแลรักษาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขาใหญ่ รวมถึงอุทยานต่าง ๆ การสร้างบุคลากร การสร้างนวัตกรรม เช่น การพัฒนาหาบุคลากรอัจฉริยะเพื่อมาช่วยในการเดินหน้าโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
“ ทรัพย์สินที่ผมจะมอบให้มูลนิธิ เช่น คอนโดมีเนียม ปราสาทอมตะคาสเซิล ที่ดิน และบ้านพักที่เขาใหญ่ รถยนต์ซูเปอร์คาร์ที่ตนสะสมมานานแล้ว เช่น รถยนต์ลัมเบอร์กินี ปอร์เช เฟอรารี่
หุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในบมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ผมอายุครบ 70 ปี ใช่เวลาในการสร้างทุกอย่างมาอย่างยากลำบาก เงินในส่วนนี้เป็นเงินส่วนตัวไม่ใช่เงินของครอบครัว ปกติจะลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่ให้ 99%
เพราะจะเหลือเงินส่วนหนึ่งประมาณ 200-300 ล้านบาท เผื่อไว้ลงทุนส่วนตัวอีกเล็กน้อย อย่างการสร้างคฤหาสห์อมตะคาสเซิล ในพื้นที่สนามกอล์ฟ อมตะ สปริงค์ คันทรี คลับ จ.ชลบุรี ซึ่งส่วนนี้ลงทุนไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท
ก็ยังคงลงทุนเพิ่มเรื่อยๆ สิ่งที่ผมทำมาทั้งหมด เพื่อที่จะให้เป็นแรงบรรดาลใจให้กับคนที่มีเงินและเหลือเพียงพอ นำมาสู่การคืนแหล่งที่มาของการสร้างรายได้ คือ สังคม อย่างผม
คือ หารายได้จากประเทศไทย ก็ต้องคืนสู่ประเทศไทย ซึ่งผม ได้ประชุมร่วมกับครอบครัวพี่น้องผม เป็นมติเอกฉันท์ในการดำเนินการตามประสงค์ของผม”
สำหรับแผนธุรกิจ ตนจะถอยจากบทบาทซีอีโอ ในอมตะฯ เพื่อไปเป็นที่ปรึกษา ซึ่งจะทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ดูนโยบายโดยไม่ลงมาเป็นระดับบริหาร ส่วนด้านงานบริหารทั้งหมดโครงสร้างองค์กรนับจากนี้
จะต้องมีตระกูลกรมดิษฐ์นั่งระดับบริหารไม่เกิน 3 คนเท่านั้น และควรผลักดันให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบอร์ด กำหนดเป้าหมาย ดูนโยบาย และจะเปิดทางให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นซีอีโอ
“การไม่ยึดติดเรื่องของคนในครอบครัวมานั่งบริหารย่อมดีกว่า โดยสเปคที่ต้องการ คือ อายุระหว่าง 40-50 ปี คนเก่ง จบด้านวิศวะ สุขภาพดี และต้องมีหลักการในการบริหาร ซึ่งขณะนี้ได้แบ่งเค้กส่วนงานต่างๆ ออกเป็นก้อน
และรีครูตบุคคลที่ต้องการเข้ามาบริหาร ตามเค้กที่แบ่งไว้ ดังนั้นเมื่อ CEO เข้ามาจะมีหน้าที่บริหารงานได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้อมตะฯ เติบโตได้ดีซึ่งความฝันของตนและต้องการทำให้สำเร็จ คือการสร้างเมือง เมือง Smart City
โดยเราร่วมมือกับหลายพาทเนอร์ หลายประเทศ อย่างโยโกฮามาประเทศญี่ปุ่น เพราะอมตะฯ เราไม่มีอะไรเลยเราเก่งแค่เรื่องพัฒนาที่ดินและให้บริการสาธารณูปโภค
เราจึงต้องดึงเอาพาทเนอร์มาร่วมทำ Smart City ของอมตะฯ จะต้องเป็นโมเดลต้นแบบเมืองตัวอย่างให้ได้”