วันที่ 28 มิ.ย.2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรถพล อนันตวรสกุล ประธานสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงการที่กรุงเทพมานคร (กทม.) ได้ออกหนังสือถึงโรงเรียนในสังกัดจำนวน 437 แห่ง เพื่ออนุญาตให้โรงเรียนกำหนดการใส่ ชุดนักเรียนและไว้ทรงผมได้อย่างอิสระ ลงนามโดย นางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัด กทม. รักษาการแทนปลัด กทม.
โดยมีเนื้อหาระบุว่า กรุงเทพมหานครจัดทำข้อกำหนดใหม่ให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยอนุญาตให้นักเรียนสามารถแต่งกายชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับจำนวน 1 วันต่อสัปดาห์ หากไม่สามารถปฏิบัติตามได้ก็สามารถใส่ชุดนักเรียนได้ตามความประสงค์ของนักเรียนโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ ยึดหลักคำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนาและเพศวิถี
ตามที่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 ข้อ 15 กำหนดว่า สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร หรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฎศิลป์ หรือชุดอื่นๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด ให้เป็นไปตามสถานศึกษากำหนด โดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสมนั้น
เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จึงให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนแต่งกายด้วยชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับ อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด
จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดังกล่าวได้ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นที่จะสวมชุดนักเรียน ชุดพละ หรือชุดอื่นใดที่โรงเรียนกำหนดให้มีไว้อยู่แล้ว แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนา และเพศวิถีของนักเรียน
ขณะที่แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกุงเทพมาหนครนั้น ในหนังสือประกาศดังกล่าวระบุว่า เพื่อเป็นการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักเรียน จึงให้โรงเรียนจัดทำข้อกำหนดแนวทาง ให้นักเรียนไว้ทรงผมอย่างอิสระบนพื้นฐานสุขอนามัยที่ดี สะอาดและส่งเสริมบุคลิกภาพ หากกรณีมีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้
ให้โรงเรียนรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกรอง เพื่อทำความเข้าใจและตกลงร่วมกัน แต่ห้ามลงโทษตัดผมนักเรียน ทำให้อับอาย หรือการดำเนินการใด ๆ ที่ทำให้เกิดความอับอายและกระทบต่อสิทธิ-เสรีภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน เช่น การตัดผม ทำให้อับอาย ฯ
ขอบคุณAthapol Anunthavorasakul
เรียบเรียง มุมข่าว