วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566

นายแพทย์ อิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กถึง หยก เยาวชน 15 ผู้ต้องหาคดี ม.112 ที่อายุน้อยที่สุด ภายหลังจากที่หยกถูกไล่ออกจากโรงเรียน ในฐานะหมอและพ่อคน ชี้คิดนอกกรอบไม่ผิดแต่ต้องไม่กระทบสิทธิสังคม

โดยหมออั้มระบุว่า หยก

หนูไม่ได้ผิด ที่คิดต่าง คิดนอกกรอบ ไม่ได้ผิด ที่มีความคิดอ่านเป็นของตนเอง ตราบใดที่ไม่ไปล่วงล้ำ หมิ่นประมาท หรือล่วงละเมิดใคร..สิ่งที่ผิด ไม่ใช่หนู แต่คือ สถานที่ และ เวลา

เสรีภาพ เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมาพร้อมกับ สิทธิ สิทธิทั้งของตัวเราเอง และของผู้อื่น พวกเราต่างกันตรงไหนรู้ไหม?

พวกเราต่างกันตรง หน้าที่ ของเรา ความต่างนี้ ทำให้สิทธิและเสรีภาพ บางอย่าง มันแตกต่างออกไป ในแต่ละบทบาท ในแต่ละบริบทของ สังคม ถ้าในสังคมนั้นๆ เขาไม่เลือกหนู คนในสังคมนั้น ไม่เป็นดั่งใจหนู

สิ่งที่หนูทำได้ คือ เลือกสังคมของหนูเอง เลือกคนรอบข้าง ที่ส่งเสริมตัวหนูทุกด้าน เลือกสังคมที่ชีวิตหนู ก้าวต่อไปได้ โดยไม่กระทบสิทธิ ไม่ละเมิดหน้าที่ใคร

มันมีอีกหลายวิธี ที่หนูจะทำไปพร้อมๆกันได้ แต่ไม่ใช่ในที่ที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น เขาทำอีกแบบ สังคมที่คิดและปฏิบัติอีกแบบ

ซึ่งแน่นอน เขาก็มีสิทธิ์ ที่จะไม่ทำตามใจหนู และแน่นอน ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะคิดต่างจากหนู ราชสีห์ ไม่มีทางเติบโตได้ในท้องทะเล แต่สิ่งมีชีวิตอื่นๆนั้น ยังเติบโตได้ดีในทะเลแห่งนี้ และนี่ก็คือสิทธิเสรีภาพ ของพวกเขาเช่นกัน

ถ้าเปลี่ยนวิธีคิดไม่ได้ ก็ต้องปรับวิธีคิด ถ้าทั้งเปลี่ยนและปรับวิธีคิดแล้ว ก็ยังทำไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยนสังคมรอบข้างแทน..

แม้มันจะไม่ง่าย แต่ก็โทษใครไม่ได้ มองหาทุ่งหญ้ากว้างๆ แทนทะเลที่คลื่นลมแรง ซึ่งแน่นอน เวลาของเรา กำลังหมดลงเรื่อยๆ หวังว่าวันหนึ่ง เมื่อชีวิตของหนูตกผลึกแล้ว หนูจะเข้าใจบทความบทนี้

ที่เจ้าของบทความ เค้าพูด เค้าเขียน ในฐานะของหมอ และพ่อคน”

โพสต์ดังกล่าว

ขอบคุณ อั้ม อิราวัต